Singapore Amazing Flying Machine 2012
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานในงานศิลปหัตถกรรมในอดีต
พระปรีชาสามารถของในหลวงนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นที่ประจักษ์แจ้งแล้วทั้งศาสตร์และศิลป์ เราสามารถดูได้จากพระราชกรณียกิจและรางวัลที่ได้การทูลเกล้าฯ ถวายจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะที่เว็บ ThaiRobotics เป็นเว็บไซต์ของไทยที่นำเสนอข่าวด้านหุ่นยนต์ เราก็ย่อมไม่สามารถมองข้ามเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เกี่ยวข้องกับในหลวงที่เป็นที่รัก เคารพ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาตนเองของพวกเราทุกคนไปได้
ในปีพ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) หรือเมื่อ 58 ปีที่แล้วในหลวงทรงเสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักเรียนและนักศึกษา ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นรถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุที่สามารถ ใช้งานได้จริง ๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลกรุงเทพ) แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถามอาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ในขณะนั้นว่า“ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ได้ไหม?” อาจารย์สนั่นจึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้พะย่ะค่ะ” ทรงรับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด?” อาจารย์สนั่นกราบบังคมทูลว่า “ประมาณ 20,000 บาท พะย่ะค่ะ” [1] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “จะให้เขาจัดเงินให้” ต่อมาไม่นานนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน 20,000 บาทเพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์หลังจากนั้นอาจารย์สนั่นได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้างรถยนต์บังคับด้วยวิทยุว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สวัสดิ์ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอน จึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์เป็นแม่งานถึงแม้ในขณะนั้นงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้านักและวิทยุยังใช้หลอดสูญญากาศอยู่ เนื่องจากอาจารย์สวัสดิ์เชี่ยวชาญทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านแมกแคนิกส์ อีกทั้งช่างวิทยุมีเครื่องกลึงและเลื่อยสายพานที่สามารถใช้ตัดโลหะได้ทุกอย่าง จึงได้ใช้เลื่อยตัดอลูมิเนียมให้เป็น ลำตัว แขนขา หัว หน้า และมือ ร่วมกับการปั้นและทาสีให้เหมือนคนจริง เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของหุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่นเพื่อให้หุ่นเดินได้ เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือ ไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่นที่สามารถเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำมาทดลองใช้งานดู ก่อนนำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า หุ่นยนต์ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯหมายเหตุ ข้อความข้างต้นคัดลอกและปรับเปลี่ยนจากเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลกาญจนาภิเษก
ถึงแม้ว่าเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่ทรงรับสั่งให้สร้างขึ้นจะเป็นเรื่องเก่าที่เอามาเล่าใหม่ แต่เมื่อเรามองไปยังเรื่องราวการรับสั่งให้ใช้งานหุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน ในงานกาชาดที่จัดขึ้นหลังจากหุ่นยนต์สร้างเสร็จ จะเห็นได้ว่าเนื้อหาการใช้งานนั้น ก้าวหน้าและทันสมัย มากอย่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องราวของการใช้หุ่นยนต์ humanoid ที่เกิดขึ้นเมื่อ 58 ปีที่แล้วในประเทศไทย ในขณะที่อเมริกายังไม่ได้นำหุ่นยนต์แขนกลเข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมและงานวิจัยที่เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบและใช้งานหุ่นยนต์ [2] ยังเป็นเรื่องที่อาจจะกล่าวได้ว่ายังไม่มีใครในโลกพูดถึงกันนอกจากเรื่องราวในนิยาย [3]
การใช้งานหุ่นยนต์เป็นคุณหมอถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่ใหญ่โตและสำคัญมากในงานวิจัยสมัยใหม่ที่ต้องการผลสรุปจากงานวิจัยหลากหลายแขนงและอาจจะกล่าวได้ว่า ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดในปัจจุบันเราก็ยังไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์ให้ทำงานในสภาพการใช้งานจริงได้อย่างเป็นธรรมชาติตามที่ในหลวงทรงให้แนวทางในการใช้งานไว้เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว เช่น
- การประชาสัมพันธ์และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
- การตอบปัญหาทางจิตที่คนป่วยไม่ต้องอายคุณหมอตัวจริง
- สามารถใช้งานและช่วยเหลือคนไข้ที่ติดเชื้อร้ายแรงได้โดยคุณหมอจริง ๆ ไม่ต้องเสี่ยงชีวิต
- การควบคุมเพื่อรักษาผู้ป่วยจากระยะไกล
- การผ่าตัดที่ต้องการความแม่นยำและยากลำบาก
จากเรื่องราวเพียงบางส่วนที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ตและมีการบันทึกไว้ก็แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศที่กว้างขวางและครอบคลุมในทุก ๆ ด้านแม้แต่เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ที่อาจจะกล่าวได้ว่า ในหลวงทรงทอดพระเนตรเห็นประเด็นทางการออกแบบและการใช้งานก้าวล้ำกว่ายุคสมัยเป็นอย่างมาก
ในฐานะที่ทีมงานและผู้เขียนเป็นกลุ่มคนที่สนใจงานวิจัยและการสร้างหุ่นยนต์เพื่อการใช้งานจริง พวกเราเชื่อว่าพวกเราโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์นักปฏิบัติที่ทรงแสดงให้เห็นว่า นอกจากการเรียนและวิจัยแล้ว การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างเป็นหุ่นยนต์ของจริงเพื่อใช้งาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ และสร้างเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังที่พระราชทานแนวทางให้เห็นเมื่อ 58 ปีที่แล้ว
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ทีมงานเว็บไซต์ ThaiRobotics
ทีมงานเว็บไซต์ ThaiRobotics
[1] ประมาณ 1 ล้านบาทในปัจจุบันเมื่อเทียบกับราคาทองคำปี พ.ศ. 2497 ที่อยู่ที่ 35.04 ดอลลาร์ /ออนซ์ และราคาปัจจุบันประมาณ 1,700 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เท่า
[2] Human-Computer Interaction (HCI) และ Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline
[2] Human-Computer Interaction (HCI) และ Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline
ที่มาและรูปจาก เครือข่ายข้อมูลกาญจนาภิเษก และ Sanook.com
As today, December 5th, is His Majesty the King’s Birthday, ThaiRobotics gratefully presents a story of a futuristic vision of His Majesty the King, an initiation to use a robot in medical service.
In 1954 (58 years ago), His Majesty, Bhumipol Adulyadej, the King of Thailand had visited an art and craft exhibition at Suankularb School (a famous public high school in Bangkok, Thailand) and saw a full-sized car remotely radio controlled developed by Bangkok College of Technology (currently known as Rajamangala University of Technology Krungthep), so His Majesty asked Sanun Sumitra, a director of the school, whether it is possible to build a walking robot. Sanun said yes. Then, His Majesty asked how much it would cost. Around 20,000 Baht [1], Sanun replied. Later, His Majesty gave 20,000 Baht of His Majesty’s personal money to the school to build the robot.After that, Sanun and Sawasd Hongpromyatra, a director of radio department and a person who developed a remote controlled car, started building the robot. A body of the robot was built of aluminum frame. Head, face and hands of the robot were sculpted to looks realistic. Radio transceiver was installed in the body of the robot. The robot walked by electric motors and batteries installed in each foot.Each arm had one electric motor to enable up and down arm motion.This robot was presented in Red Cross Expo in 1959 and drawn a lot of attention by visitors. It can walk, move its hands and do two-way voice conversation. All was done remotely via radio controlled. It was used for experimental study in long distance medical diagnostic, medical counselling, education and public relation.From the Kanchanapisek Network
That was almost 60 years ago, before an industry started using an industrial robotic arm and before any documented human-robot interaction research [2]. It could be said that the doctor robot, to the best of our knowledge, is the first implemented telepresence medical robot in the world [3].
Long Live the King
ThaiRobotics
[1] Approximately 1 million Baht ($32,500) nowadays when comparing with the gold price in 1954 at $25.04/oz and today price at $1,700/oz or 50 times increased.
[2] Human-Computer Interaction (HCI) and Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline
[2] Human-Computer Interaction (HCI) and Human-Robot Interaction (HRI)
[3] Robot Timeline
Image and source from Kanchanapisek Network and Sanook.com
ที่มา : http://www.thairobotics.com/2012/12/04/thailand-king-doctor-robot/
หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน โดย ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต และคนอื่นๆ
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะใช้ได้ไนอนาคต หุ่นยนต์จะใช้แทนมนุษย์สัตว์ เครื่องมือ ฯลฯ เพื่อให้ทำงานในที่ที่มนุษย์เข้าไปไม่ได้ เช่น ในที่ที่มีความร้อนสูงหรือมีความเย็นจัด มนุษย์หรือสัตว์ไม่สามารถเข้าไปได้ แต่หุ่นยนต์เข้าไปได้ รวมทั้งโต้น้ำหรือในอวกาศ หรือในที่ที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง
หุ่นยนต์อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือมีรูปร่างอย่างโดก็ได้ แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ใช้งาน หรือจะใช้บังคับจากที่โดที่หนึ่งที่อยู่ไกลๆ ก็ได้ เช่น การผ่าตัดข้ามโลกด้วยหุ่นยนต์แทนศัลยแพทย์ผู้ชำนาญ ใช้ไนการสู้รบและทำลายศัตรูก็ได้ เมื่อเข้าไปใกล้ศัตรู หุ่นยนต์ก็จะถูกกดปุ่มให้ระเบิดตัวเอง ทำให้ศัตรูถูกระเบิดไปด้วยประโยชน์ของหุ่นยนต์มีอีกมากมาย เพราะหุ่นยนต์ทำงานซ้ำๆ กันได้โดยไม่ผิดพลาด ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือง่วงนอน และสามารถสร้างความสนใจได้ ประการสุดท้ายคือ หุ่นยนต์ สามารถทำงานตามคำสั่งได้อย่างดียิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้เป็นอย่างดีว่าหุ่นยนต์ก็คือ ยอดของ “ไอที” นั่นเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังให้สร้าง “หุ่นยนต์” ขึ้นไนประเทศไทย เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจการต่างๆ ทั้งในการสื่อสาร การเรียนการสอนการอุตสาหกรรม การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งสถานที่ที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุดคือ สถานศึกษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักเรียนและนักศึกษาตลอดจนได้ทำงานร่วมกัน อันเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี และได้ช่วยกันพัฒนาความรู้ศิลปวิทยา และศิลปหัตถกรรมให้เจริญก้าวหน้าเมื่อพระองค์ทรงเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ได้เสด็จทอดพระเนตรผลงานของนักเรียน นักศึกษาด้วยความสนพระทัย และที่ทรงสนพระทัยมากคือ รถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุ ที่สามารถใช้งานได้จริงๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ) แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถาม อาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ในขณะนั้นว่า “ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ ได้ไหม”อาจารย์สนั่น จึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้ พะย่ะค่ะ” ทรงรับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด” อาจารย์สนั่น สุมิตร กราบบังคมทูลว่า “ประมาณ๒๐,๐๐๐ บาท พะย่ะค่ะ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “จะให้เขาจัดเงินให้” ต่อมาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สนั่น สุมิตร ได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าเผนกวิทยุ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้างรถยนต์บังคับด้วยวิทยุ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอนจึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เป็นแม่งาน ในขณะนั้น งานด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้านัก เครื่องวิทยุยังใช้หลอดอยู่ แต่เนื่องจากอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เชี่ยวชาญทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านแมกแคนิกส์อีกทั้งช่างวิทยุมีเครื่องกลึงและเลื่อยสายพานที่สามารถใช้ตัดโลหะได้ทุกอย่าง จึงได้ใช้เลื่อยตัดอะลูมิเนียมให้เป็นตัวหุ่นยนต์และแขนขาหุ่นยนต์ ส่วนหัว หน้า และมือ ใช้วิธีปั้นและทาสี ซึ่งทำได้เหมือนคนมาก เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของหุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่น ทำให้หุ่นเดินได้ เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่น หุ่นจะเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาทดลองใช้งานดู เมื่อเห็นว่าใช้ได้ อาจารย์สนั่นจึงได้นำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่าหุ่นยนต์ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ |
|
หัวข้อ
- การนำหุ่นยนต์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- การปรับปรุงหุ่นยนต์ตามแนวพระราชดำริ
- ความสามารถของหุ่นยนต์คุณหมอ
- การแสดงหุ่นยนต์คุณหมอในงานกาชาด
- ผลของการสร้างหุ่นยนต์
การนำหุ่นยนต์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า ได้สร้างหุ่นยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงมีพระราชกระแสรับสั่งกำหนดวันและเวลา ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ นำหุ่นยนต์เข้าถวายให้ทอดพระเนตร อาจารย์สนั่น สุมิตร อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ พร้อมด้วยอาจารย์แผนกวิทยุ และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ที่ได้ช่วยกันสร้างหุ่นยนต์จึงเข้าเฝ้าฯ และได้บังคับหุ่นยนต์ให้ทอดพระเนตรตามพระราชประสงค์ ปรากฏว่า เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงพระเมตตาพระราชทานแนวพระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขให้หุ่นยนต์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีพระราชกระแสรับสั่งไห้สวมเสื้อผ้าให้หุ่นยนต์ด้วย โดยให้สวมเสื้อกาวน์เป็นหุ่นยนต์คุณหมอที่หน้าอกติดกาชาดสีแดง
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
การปรับปรุงหุ่นยนต์ตามแนวพระราชดำริ
อาจารย์สนั่น สุมิตร และอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ได้ถวายบังคมลาและนำหุ่นยนต์กลับมาแก้ไขตามแนวพระราชดำริโดยด่วน เช่น เสริมโครงสร้างให้แข็งแรงขึ้น จัดโปรแกรมการเดินและการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้นโดยใช้โปรแกรมจากความถี่ต่างๆ ซึ่งเทียบได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน หุ่นยนต์ที่ได้รับการแก้ไขแล้ว มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและมั่นคงแข็งแรงขึ้น เสียงที่พูดโต้ตอบชัดเจนขึ้น แต่งกายแบบคุณหมอสวมเสื้อกาวน์สีขาวยาวคลุมตัวหุ่น หน้าอกติดกาชาดสีแดง และมีเครื่องฟังของคุณหมอที่ใช้ตรวจคนไข้ด้วย ทุกอย่างได้จัดตามแนวพระราชดำริที่ได้รับพระราชทานมา
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
ความสามารถของหุ่นยนต์คุณหมอ
หุ่นยนต์คุณหมอสามารถเดินได้ ยกมือได้ไหว้ได้ ฟังได้ พูดได้ โต้ตอบได้ ทำงานบางอย่างแทนคนได้ วินิจฉัยโรคได้ (ถ้ามีแพทย์คอยควบคุม) ข้อสำคัญคือ ทำงานแทนคุณหมอในที่ที่มีการติดเชื้อโรคได้ โดยการควบคุมจากระยะไกล
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
การแสดงหุ่นยนต์คุณหมอในงานกาชาด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำหุ่นยนต์คุณหมอไปแสดงในงานกาชาด ที่สถานเสาวภา ปรากฏว่า หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานช่วยประชาสัมพันธ์งานได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังให้คำแนะนำในเรื่องการรักษาสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนที่มาชมงาน ตลอดจนตอบปัญหาทางจิตได้เป็นอย่างดี โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ คอยควบคุมและบางครั้งก็มอบหมายให้ นายอุดม จะโนภาษ และอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ แผนกวิทยุช่วยควบคุมและตอบปัญหาต่างๆ
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. และภาพกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์
กติกาการแข่งขันหุ่นยนต์ ประเภทไฟล์ Word, PDF
ภาพกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์
ภาพกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ในงาน R-Learning (Robot Learning)
ซึ่งเป็นลักษณะการแข่งขันในโจทย์หุ่นยนต์ผสม (Logistic Hub of Asiean)
ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ย. 56 ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ที่ผ่านมาครับ
สำหรับแผนการดำเนินกิจกรรมทั้งหุ่นยนต์และนักบินน้อย สพฐ. ผมมีข้อเสนอแนะดังนี้
ภาพกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์
ภาพกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ในงาน R-Learning (Robot Learning)
ซึ่งเป็นลักษณะการแข่งขันในโจทย์หุ่นยนต์ผสม (Logistic Hub of Asiean)
ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ย. 56 ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ที่ผ่านมาครับ
สำหรับแผนการดำเนินกิจกรรมทั้งหุ่นยนต์และนักบินน้อย สพฐ. ผมมีข้อเสนอแนะดังนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)